วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สิ่งแวดล้อม

                                                  สิ่งแวดล้อม
 การรวมตัวกันอย่างหนาแน่นของแก๊ส จากการอุตสาหกรรม และควันพิษที่เกิด ขึ้นในอากาศที่พวกเราหายใจ เข้าไป ได้สั่งสมเพิ่มพูน สูงถึงบรรยากาศชั้นบน สิ่งนี้ได้ก่อ ให้เกิดวิกฤตการณ์พร้อมกันทีเดียว 3 อย่าง อันได้แก่ ฝนกรด ชั้นโอโซนถูกทำลาย และเกิดอากาศร้อนขึ้นทั่วโลก หรือเป็นตัวการก่อให้เกิด"ปรากฏการณ์เรือนกระจก"
แต่ละอย่าง ที่กล่าวมา แล้วนั้นสามารถก่อให้เกิดผลที่เป็น อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตจนทำให้ถึงตายได้ยิ่ง เมื่อทั้ง 3 ปรากฏการณ์ มารวมกันแล้ว มันสามารถคุกคามโลกได้มากเท่า ๆ กับสงครามนิวเคลียร์เลย ทีเดียว
ก๊าซที่ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทั้ง 3 อย่าง ได้แก่ 
- ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์
- ไนโตรเจนอ๊อกไซด์
- คาร์บอนไดอ๊อกไซด์
- คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (CFCS)
ภาวะเรือนกระจก หมายถึง ภาวะที่แสงอาทิตย์ผ่านลงมาและ ก๊าซคาร์บอน ไดอ๊อกไซด์และก๊าซอื่น ๆ ที่พอกพูนอยู่ในบรรยากาศระดับต่ำ จะตัดความร้อนเอาไว้ ไม่ให้สะท้อนออกไป ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก เหมือนกับ เรือนกระจก ที่ใช้ปลูกต้นไม้ในเมืองหนาว
ก๊าซที่พบในเรือนกระจก ได้แก่
  • คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน แก๊ส) ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และควัน จากยานพาหนะ
  • ก๊าซมีเธน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรีย์วัตถุ โดยการกระทำของของแบคทีเรีย มักเกิดในที่มีน้ำขัง ท้องนาที่น้ำท่วมขัง ลมหายใจของวัวและตัวปลวก การเผาฟืนและป่าไม้ มีระดับการเพิ่มราวหนึ่งเปอร์เซนต์ทุก ๆ ปี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา
  • ก๊าซคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน ซึ่งใช้เป็นน้ำยาทำความเย็นใช้ทำความสะอาดและใช้เป็นวัตถุดิบ สำหรับทำโฟมพลาสติก เพิ่มขึ้น ปีละราว 5 เปอร์เซ็นต์
  • ก๊าซไนตรัสอ๊อกไซด์ ก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ก๊าซส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากปุ๋ย ซึ่งมีไนโตรแจนเป็นส่วนผสมสำคัญ นอกจากนี้ยังเกิดจากการเผาถ่านหิน และเชื้อเพลิงที่เป็น ฟอสซิลอื่น ๆ รวมทั้งน้ำมันเบนซินด้วย
ก๊าซต่าง ๆ เหล่านี้มีคุณสมบัติสามารถดูดซับรังสีอินฟาเรด (รังสีที่มองไม่เห็น ปกติจะทำหน้าที่นำเอาความร้อน ส่วนเกินจากโลกขึ้นสู่อวกาศ) ได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านส่วนประกอบทางเคมีของบรรยากาศ ประมาณว่า ถ้าก๊าซเหล่านี้ มีปริมาณมากขึ้นเท่าใด ก็จะเป็นตัวเร่งที่ทำให้อากาศร้อนยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ผลกระทบจากภาวะเรือนกระจก
  • ความร้อนของอากาศที่มีอยู่ในโลกจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ส่งผลต่อประเทศที่เป็นหมู่เกาะและชายฝั่งทวีป ตลอดจนดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใช้สำหรับเป็นที่ผลิตอาหารจะจมอยู่ใต้ทะเล
  • ภัยพิบัติทางธรรมชาติจะรุนแรงมากขึ้น เช่น ความรุนแรงของพายุจะสัมพันธ์กับอุณหภูมิพื้นผิวหน้าของทะเล ถ้าอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นอีก ความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนจะเพิ่มขึ้นอีก 40-50 %
ฝนกรด ฝนกรดเกิดจากชั้นบรรยากาศที่ถูกมนุษย์ปล่อยสิ่งสกปรกไป สะสมไว้ที่ชั้น บรรยากาศ เช่น ควัน เขม่า ละอองไอเสีย ก๊าซจากโรงงานอุตสาหกรรม จากเครื่องยนต์ ซึ่งก๊าซบางอย่างไปรวมตัวกับน้ำในบรรยากาศ ทำให้เกิดกรดขึ้น เช่น ซึ่งกรดทั้ง 3 ตัวนี้เป็นกรดแก่ ทำให้น้ำฝนเป็นกรด
ผลกระทบจากฝนกรด
  • ผู้ที่ใช้น้ำฝนเป็นน้ำดื่ม น้ำใช้ จะมีผลต่อสุขภาพเพราะฝนกรดเหล่านี้อาจทำให้เกิดพิษภัย ต่อผู้บริโภค เช่น ทำให้เป็นโรคกระเพาะ เป็นมะเร็ง อันเนื่องมาจากกรดซัลฟูริค เป็นต้น
  • ฝนกรดจะทำลายธาตุอาหารบางชนิดในดิน เช่น ไนเตรต ฟอสเฟต ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น มีผลต่อการเพาะปลูก เช่นปลูกพืชผักไม่ขึ้น ได้ผลผลิตน้อยกว่าปกติ เพราะฝนกรดทำให้ดินเปรี้ยว จุลินทรีย์หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืช ถูกทำอันตรายต่อความ เป็นกรดทั้งสิ้น พืชต้องอาศัย จุลินทรีย์จากดิน เช่น สารอินทรีย์โมเลกุล ใหญ่จะต้องถูกสลายให้เป็นโมเลกุลเล็ก พืชจึงจะดูดเข้าไปใช้ได้ หรือพืชจะต้องอาศัยอนุมูลแอมโมเนียที่จุลินทรีย์ดึงมาจากอากาศ ดังนั้น การที่มีกรดในน้ำฝนจึงลดความเจริญของจุลินทรีย์ในดิน ยังผลกระทบกระเทือนไปถึงพืชอีกด้วย
  • ฝนกรดทำลายวัสดุสิ่งก่อสร้างและอุปกรณ์บางชนิด คือ จะกัดกร่อนทำลายพวกโลหะ เช่น เหล็กเป็นสนิมเร็วขึ้น สังกะสีมุงหลังคาที่ใกล้ ๆ โรงงานจะ ผุกร่อนเร็ว สังเกตได้ง่าย นอกจากนี้ยังทำให้แอร์ ตู้เย็น หรือวัสดุอื่น ๆ เช่น ปูนซีเมนต์หมดอายุเร็วขึ้น ผุกร่อนเร็วขึ้น เป็นต้น
  • ฝนกรดจะทำลายทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ปู หอย กุ้งสูญพันธุ์ไปได้ เพราะ ฝนกรดที่เกิดจากก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊ออกไซด์และเกิดจากก๊าซไนโตรเจนอ๊อกไซด์ พวกนี้จะทำให้น้ำในแม่น้ำ ทะเลสาบกลายเป็นกรด ทำให้สัตว์น้ำดังกล่าวตาย เช่น อเมริกาตอนกลาง ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำลดลง ทำให้ทะเลสาบ 85 แห่งไม่มีปลา และทะเลสาบในประเทศวีเดน 15,000 แห่ง ไม่มีปลา และนับวันจะปราศจากปลามากขึ้น ทะเลสาบางแห่ง ป้องกันฝนกรดได้ เพราะในทะเลสาบนั้นมีสารพวกไบคาร์บอเนตละลายอยู่ หรือบางแห่งมีธาตุทางธรณีวิทยา
ชั้นโอโซนรั่ว เมื่อปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ศึกษาบรรยากาศเหนือขั้วโลกใต้ พบว่าปริมาณโอโซนที่ ครอบคลุมโลกชั้นสูงประมาณ 10-15 ไมล์ มีปริมาณ ลดลงอย่างน่าวิตก เหลือเพียง 1 ใน 3 ของระดับปกติ หลายคนอ่านข่าวนี้แล้วผ่าน เลยไป คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ประเทศไทยอยู่ห่างขั้วโลกเหลือเกิน ไม่น่าจะมี ผลกระทบกระเทือนมาถึง จึงไม่ต้องวิตกกังวล นับว่าเป็นความคิดที่ผิด แม้ช่องโหว่ ของโอโซนจะเกิดขึ้นแถบขั้วโลกใต้ ก็มีผลต่อชาวโลกทุกคน และผู้บริโภคทุกคนอาจ จะช่วยกันแก้ไขให้ปัญหานี้ลดลงได้ หากละเลยไม่ช่วยกันแก้ไขเสียตั้งแต่บัดนี้ เพียงชั่วลูกหลาน ปัญหานี้จะรุนแรงขึ้น
โอโซน เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอ๊อกซิเจนสามอะตอม ในบรรยากาศเหนือโลก ชั้น โอโซนที่ ครอบคลุมโลกช่วยป้องกันรังสีอุลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์มิให้มาถึงโลก มากเกินไป
บนพื้นโลก โอโซนเป็นก๊าซเสียจากรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม โอโซนบนผิวโลก ไม่อาจลอยขึ้นไปทดแทนบรรยากาศชั้นบน ได้แต่วนเวียนอยู่บน พื้นโลก เพียงไม่กี่วัน ก็สลายตัวกลายเป็น อ๊อกซิเจน
โอโซนส่วนใกล้พื้นดินนี้มีน้อย เกินไป และไม่ช่วยป้องกัน รังสีอุลตราไวโอเลต ในแสงจากดวงอาทิตย์มีรังสี หลายอย่าง รังสีที่อันตรายที่สุดได้แก่ รังสีอุลตราไวโอเลตบี (UV-B) ประมาณว่าถ้าปริมาณโอโซนในชั้นบรรยากาศ ที่ครอบคลุมโลกลดลงหนึ่งเปอร์เซนต์ จะทำ ให้รังสีอุลตราไวโอเลตผ่านมาถึงพื้นโลก ได้มากขึ้นถึงสองเปอร์เซนต์ ซึ่งมีผลกระทบ กระเทือนสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก
ต้นเหตุที่ทำให้ปริมาณโอโซนลดน้อยลง เป็น สารเคมีกลุ่มหนึ่งที่ใช้ในผลิตภัณฑ์หลายอย่าง ในครอบครัวและอุตสาหกรรมชื่อว่า คลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือ ซีเอฟซี เป็นสารที่คงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สูญหาย ค่อย ๆลอยขึ้นไปบนฟ้า กว่าจะถึงบรรยากาศชั้นบนก็กินเวลาหลายปี ซีเอฟซีถูกรังสีอุลตราไวโอเลตจะสลายตัวได้ธาตุคลอรีน ฟลูออรีนและคาร์บอน ธาตุคลอรีนนี้เอง จะทำลายโอโซน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น