วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติลูกเสือ

 
 
ประวัติการลูกเสือไทย
ภาพพระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
การลูกเสือ ได้อุบัติขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell) ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ.๑๙๐๗)สืบเนื่องจากการรบกับพวกบัวร์ (Boar)ในการรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking)ที่อาฟริกาใต้
ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ซึ่งบี พี ได้ตั้งกองทหารเด็กให้ช่วยสอดแนมการรบ จนรบชนะข้าศึกเมื่อกลับไปประเทศอังกฤษ
ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ จึงได้ทดลองนำเด็กชาย ๒๐ คน ไปอยู่ค่ายพักแรมที่เกาะบราวน์ซี Browmsea Islands) ซึ่งได้ผลดีตามที่คาดหมายไว้
ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ ได้แต่งหนังสือคู่มือการฝึกอบรมลูกเสือขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีชื่อว่า Scouting For Boys
 

คำว่า "Scout" จึงใช้เป็นคำเรียกผู้ที่เป็นลูกเสือ ซึ่งมีความหมายมาจาก
S ย่อมาจาก Sincerity แปลว่า ความจริงใจ
C ย่อมาจาก Courtesy แปลว่า ความสุภาพอ่อนโยน
O ย่อมาจาก Obedience แปลว่า การเชื่อฟัง
U ย่อมาจาก Unity แปลว่า ความเป็นใจเดียวกัน
T ย่อมาจาก Thrifty แปลว่า ความประหยัด
และในปีนี้เอง ได้มีการจัดตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นกองแรกในประเทศอังกฤษ ซึ่งกิจการลูกเสือได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว จนต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๕๒ พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ที่ ๑ ทรงรับอุปภัมภก เมื่อประเทศสหรัฐอเมริกาเห็นความสำคัญและประโยชน์ของลูกเสือ จึงได้ก่อตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นประเทศที่ ๒
กิจการลูกเสือไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖
ภาพรัชกาลที่ ๖ ทรงเครื่องแบบเสือป่า และภาพลายพระหัตถ์รัชกาลที่ ๖
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา ได้เสด็จไปทรงศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทวีปยุโรป ระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่นั้น ได้ทรงทราบเรื่องการสู้รบเพื่อรักษาเมืองมาฟิคิง (Mafeking) ของ ลอร์ดเบเดน โพเอลล์ (Lord Baden Powell)
ซึ่งได้ตั้งกองทหารเด็กเป็นหน่วยสอดแนมช่วยรบในการรบกับพวกบัวร์ (Boar) จนประสบผลสำเร็จ และได้ตั้งกองลูกเสือขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก ที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ เมื่อพระองค์เสด็จนิวัติสู่ประเทศไทย ก็ได้ทรงจัดตั้งกองเสือป่า (Wild Tiger Corps) ขึ้น เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๕๔ มีจุดมุ่งหมาย
เพื่อฝึกหัดให้ข้าราชการและพลเรือนได้เรียนรู้วิชาทหาร เพื่อเป็นคุณประโยชน์ต่อบ้านเมือง รู้จักระเบียบวินัย มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
ต่อจากนั้นอีก ๒ เดือน ก็ได้พระราชทานกำเนิดลูกเสือไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๔๕๔ ด้วยทรงมีพระราชปรารภว่า
เมื่อฝึกผู้ใหญ่เป็นเสือป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการช่วยเหลือชาติบ้านเมืองแล้ว เห็นควรที่จะมีการฝึกเด็กชายปฐมวัยให้มีความรู้ทางเสือป่าด้วย เมื่อเติบโตขึ้นจะได้รู้จักหน้าที่และประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้าน เมือง
ภาพ นายชัพท์ บุนนาค ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก
จากนั้น ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง (โรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบัน) และจัดตั้งกองลูกเสือตามโรงเรียน ต่าง ๆ ให้กำหนดข้อบังคับลักษณะปกครองลูกเสือขึ้น รวมทั้งพระราชทาน คำขวัญให้ลูกเสือว่า “เสียชีพ อย่าเสียสัตย์ ”
ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นายชัพท์ บุนนาค ซึ่งต่อมา ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “นายลิขิตสารสนอง”
ปี พ.ศ.๒๔๖๓ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย จำนวน ๔ คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ ๑ (1st World Scout Jamboree)ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกของโลก ณ อาคารโอลิมเปีย กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ปี พ.ศ.๒๔๖๕ คณะลูกเสือไทย ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมัชชาลูกเสือโลก ซึ่งขณะนั้นมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น ๓๑ ประเทศ ประเทศทั้ง ๓๑ ประเทศนี้ นับเป็นสมาชิกรุ่นแรก หรือสมาชิกผู้ก่อการจัดตั้ง (Foundation Members) สมัชชาลูกเสือโลกขึ้นมา
ปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้จัดส่งผู้แทนคณะลูกเสือไทย ๑๐ คน ไปร่วมงานชุมนุมลูกเสือโลก ครั้งที่ ๒ ณ ประเทศเดนมาร์ก
ปี พ.ศ.๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
กิจการลูกเสือไทยในสมัยรัชกาลที่ ๗
ปี พ.ศ.๒๔๗๐ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๑ (1st National Jamboree) ขึ้น ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ และกำหนดให้มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติในทุก ๆ ๓ ปี
ปี พ.ศ.๒๔๗๓ มีการจัดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๒ ขึ้น ณ พระราชอุทยานสราญรมย์ ซึ่งมีคณะลูกเสือต่างประเทศจากประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมงานด้วย
ปี พ.ศ.๒๔๗๕ หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มี “ลูกเสือสมุทรเสนา” เกิดขึ้น อีกหนึ่งเหล่า โดยจัดตั้งกองลูกเสือสมุทรเสนาในจังหวัดแถบชายทะเล เพื่อให้เด็กในท้องถิ่น มีความรู้ความสามารถในวิทยาการทางทะเล
กิจการลูกเสือไทยในสมัยรัชกาลที่ ๘
ยุคนี้ เป็นยุคที่กิจการลูกเสือซบเซา เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ ด้วยเกิดสงครามโลก ครั้งที่ ๒ (World War II) ขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๘๒ และสงครามอื่นๆ อีกหลายครั้ง รัฐบาลได้จัดตั้ง “ยุวชนทหาร” ขึ้นมาซ้อนกับกิจการลูกเสือ ซึ่งมีความแตกต่างกันในการฝึกอบรม โดยเน้นในการฝึกเยาวชนเพื่อการทหารอย่างแท้จริง
ที่มา http://www.thaigoodview.com/node/39011?page=0%2C2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น